Pages

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

การชำระหนี้สงฆ์ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี

หลวงพ่อสอนให้ลูกศิษย์และญาติโยมรู้จักชำระหนี้สงฆ์ และแนะนำให้สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ พร้อมทั้งนำเกร็ดความรู้ที่ได้ประสบมาเล่าให้ฟัง เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง อีกทั้งจะได้เป็นเครื่องป้องกันตัวเองและผู้อื่นไม่ให้กระทำความชั่วต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับของสงฆ์อีก ท่านเล่าในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า

“ของทุกอย่างที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสมบัติของสงฆ์แล้ว จะเป็นสิ่งของหรือวัตถุเครื่องใช้อะไรก็ตาม จะมีราคามากหรือน้อยก็ตาม ผู้ที่นำไปใช้โดยพละการ หรือทำสิ่งของเหล่านั้นเสียหาย จะต้องนำสิ่งของเหล่านั้นมาทดแทนให้เหมือนเดิม ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผู้ล่วงละเมิดลงสู่อเวจีมหานรกได้โดยง่าย”

อย่างวัดร้างที่ปรากฎว่าเป็นดินเปล่า ไม่มีฐานะแสดงว่าเป็นวัด หรือบางแห่งแสดงฐานะว่าเป็นวัด แต่อยู่ในป่าในดง หรือวัดที่มีพระอยู่ก็ตาม เราจะนำสิ่งของอะไรมาก็ตามในเขตนั้น จะเป็นต้นหญ้าสักต้น ไม้หักสักอัน เขาก็ถือว่าของเหล่านั้นเป็นของสงฆ์ หรือว่าถ้าใครยึดแผ่นดินของสงฆ์ไว้เป็นสมบัติส่วนตัวละก็ ถือว่าซวยขนาดหนัก แบบนี้มีผู้เรืองอำนาจรุกรานสงฆ์เคยตกนรกขั้นขุมที่ 7 มาแล้ว ขุมนี้หนักมาก รองจากอเวจีมหานรก เพราะอะไร เพราะบุกรุกที่ดินของวัด ถึงแม้จะไม่มีเจตนาโกง วัดก็เป็นวัดร้าง แต่ไม่รู้ว่าเป็นวัดร้าง แค่นี้ก็ตกนรกขุมที่ 7 จะมาอ้างว่าไม่รู้ ไม่เจตนาไม่ได้ มีความผิดหมด หรือว่ามีไม้ลอยมาหน้าบ้าน เราเห็นว่าไม่มีเจ้าของ เอาเข้ามาทำฟืน แต่ถ้าไม้นั้นมาจากวัด ก็เป็นไม้ของสงฆ์ ไปเอาเข้ามันก็บาป ต้นหญ้าต้นฟางที่มันอยู่กลางทุ่ง สถานที่นั้นอาจจะเคยเป็นวัดมาก่อนก็ได้ เขาเคยถวายเป็นของสงฆ์ แต่ว่าสภาพของวัดมันสูญไป ของที่อยู่ในนั้นทั้งหมด แม้แต่แผ่นดินก็ยังเป็นของสงฆ์ เราไปเอาต้นหญ้ามาต้นเดียวก็บาป แล้วโทษของสงฆ์หนักมาก เรียกว่าขั้นอเวจีขั้นเดียว มีระดับเดียว ระดับอื่นไม่มี

หลวงพ่อปานท่านก็ชวนชาวบ้านชำระหนี้สงฆ์ ว่าใครจะชำระหนี้สงฆ์บ้าง ด้วยจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม เอามารวมกันแล้วประกาศต่อหน้าสงฆ์ ขอชำระหนี้สงฆ์ คือว่าวัดร้างที่ปรากฎมีเป็นวัดก็ตาม หรือไม่ปรากฎเป็นวัดก็ตาม วัดที่มีพระก็ตาม วัดไหนก็ได้ ทำไปโดยเจตนาว่ารู้ว่าเป็นของสงฆ์ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านั้นย่อมไม่ทราบค่าราคาของ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอชำระหนี้สงฆ์ด้วยจำนวนเงินเท่านี้ ถ้าพระสงฆ์ทั้งหลายเห็นสมควรก็ขอให้สาธุขึ้นให้พร้อมกัน ถ้าพระสงฆ์ทั้งหลายไม่เห็นสมควรก็ขอให้นิ่งอยู่ ถ้าพระทั้งหมดสาธุพร้อมกันเป็นอันว่าใช้ได้ ชำระกันแบบนี้ทุกปี ท่านบอกว่าค่อย ๆ ทำไป เรื่องนี้มันเป็นเรื่องหนัก

ในเมื่อพระสงฆ์สาธุ ท่านจะมอบเงินจำนวนนั้นเป็นสมบัติของสงฆ์ เป็นสิทธิของสงฆ์ที่พึงใช้ จะใช้ได้ก็ต้องเอาเงินจำนวนนั้นไปใช้ในการก่อสร้างหรือบำรุงสงฆ์ ท่านทั้งหลายอาจสงสัยว่า ของต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งก่อสร้างก็ดี วัสดุเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ดี หรือต้นไม้ใบหญ้าก็ดี ของที่อยู่ในวัดทั้งหมด ถ้าหากเรารื้อแทนของเดิม ทั้งนี้ เพราะทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เขาสร้างไว้ในวัด เขาไม่สร้างให้พระองค์ใดองค์หนึ่ง เขาสร้างเพื่อถวายบูชาพระพุทธเจ้า คำว่าของสงฆ์นี่น่ะ ต้องหมายถึงพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เป็นของส่วนกลาง ไม่มีใครหรอกที่จะถือสิทธิ์ว่าเป็นของฉัน จะมาชี้ว่าสมบัตินี้เป็นของฉัน เป็นของส่วนตัว ถ้าทำอย่างนั้น จะต้องลงนรกหมด เรื่องนรกนี้เขาไม่เว้นใครหรอก

ของในวัดก็เหมือนกัน ถ้าพระองค์ใดปลูกไว้ ถ้าเขาสึกแล้วก็ตาม เขาตายแล้วก็ตาม ของเหล่านั้นเป็นของสงฆ์ ถ้าว่าเขาตายหรือสึกไปแล้ว พระองค์ใดองค์หนึ่งจะถือเป็นทายาทกันเองก็ดี ใช้เองก็ดี ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเป็นของสงฆ์เสียแล้ว เวลาจะกินจะใช้ก็ต้องประชุมสงฆ์ต้องลงมติอนุมัติ จึงจะถือว่าไม่เป็นโทษ

ก็มีตัวอย่างเรื่องหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ มีพระองค์หนึ่ง ชื่อ อาจารย์ทิม สำหรับอาจารย์ทิมนี่รุ่นเดียวกัน อยู่ที่สุพรรณบุรี เป็นนักก่อสร้าง พระองค์นี้เป็นพระดีมาก ระเบียบวินัยก็ดี เจริญสมถภาวนาก็ดี แต่ว่าโทษมันมีอยู่อย่างหนึ่ง แกป่วยครั้งหลังสุด กำลังก่อสร้างโบสถ์ สตางค์ส่วนตัวแกไม่มี ได้มาก็จ่ายไป ทีนี้แกป่วย สตางค์ส่วนตัวแกไม่มี หมอเขาบอกว่าต้องต้มยาหม้อในราคาหกสิบบาท ท่านก็เลยขอยืมเงินที่เขาสร้างโบสถ์ก่อน ฉันหายแล้ว เวลาใครเขาเอาเงินมาถวายก็จะใช้คืน

พอปี 2508 ดันตายเสียได้ “ไอ้เงินหกสิบบาทดันเป็นพิษ พระทิมไปนั่งจ๋องที่สำนักพระยายม” เวลาทุ่มเศษ ๆ กำลังนอนสบาย ๆ เห็นเทวดาองค์หนึ่งเป็นพวกวชิระ มายืนปลายเท้า กราบ กราบ ถามว่า “มาทำไม” เขาบอกว่า “ท่านใหญ่ให้นิมนต์ไปพบครับ” เลยบอกว่า “แกไปข้างหน้า ฉันตามไป” ตามไปหน่อยเดียวแกบอกว่า "เดี๋ยวผมไปตามอีกสององค์” แกไปตามอีกสององค์ เราก็ตรงไป พอถึงก็พบท่านทิมอยู่ที่สำนักพระยายม จึงถามว่า “ไง.....มานั่งอยู่ที่นี่เล่า” แกก็บอกว่า "เป็นหนี้สงฆ์อยู่หกสิบบาท” ถามว่า "คนอย่างแกเป็นหนี้สงฆ์ด้วยเรอะ” แกบอก “เป็นหนี้ตอนใกล้ตาย เพราะหมอที่สั่งยามาให้ แต่ไม่มีเงิน ทุ่มเทเอาไปสร้างโบสถ์หมด ไอ้เงินส่วนตัวจริง ๆ ที่เรียกว่าตามอัธยาศัยมันไม่เหลือ ก็เอาเงินส่วนนี้เอาไปซื้อยา”

จึงเข้าไปตามลุง (พระยายม) ถามลุงว่า “ยังไงนี่.....” ลุงบอกว่า “ยังไม่ว่าไง เดี๋ยวค่อยว่า คอยอีกสององค์ก่อน ยังไม่สอบสวน” ถ้าสอบสวนไม่ได้ ของสงฆ์นี่หนักมาก ปิดปากเลย ถ้ากรรมดีละก็หนัก ปิดปาก กระเบื้องอันเดียวปิดปากเลย เรื่องบุญนี่พูดไม่ได้เลย

พออีกสององค์ไปถึงเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เรียกอาจารย์ทิมเข้าไปถามว่า “ท่านเอาเงินสงฆ์ไปใช้หกสิบบาทใช่ไหม” ท่านตอบว่า “ใช่” “ไปใช้เพื่ออะไร” บอกว่า “มันป่วย หมอเขาสั่งยามา” “จิตคิดอย่างไร” “จิตคิดว่า ถ้าใครเขาเอาเงินมาถวายก็จะชำระหนี้สงฆ์” แต่นี่ยังไม่ทันชำระใช่ไหม” แกตอบว่า “ใช่” แล้วท่านถามว่า “จะว่าอย่างไร” ท่านบอกว่า “ไม่มีเรื่องจะว่า”

ลุงพุฒท่านก็หันมาถามพวกเราว่า “ท่านสามองค์จะว่าอย่างไร" บอกว่า “ยังมีเรื่องว่าอยู่” “ว่ายังไงล่ะ” “ทำอย่างไรพระองค์นี้จะต้องไปเป็นพรหม เขาได้ฌานสมาบัติ ควรจะไปเป็นพรหม” ท่านก็เลยบอกว่า “เวลาตายก่อนจะดับจิต อารมณ์อยู่ในฌาน ฌานยังตั้งไม่ได้” เลยถามว่า “ไอ้เรื่องนี้พอจะอภัยกันได้ไหม” ท่านก็เลยบอกว่า “ของสงฆ์อภัยให้กันไม่ได้ มันต้องชำระหนี้สงฆ์” ก็บอกว่า “ตกลง ฉันช่วยชำระหกสิบบาท เรื่องเล็ก” ท่านบอกว่า “ไม่ได้ ชำระด้วยเงินไม่ได้” ถามว่า “แล้วจะเอาอะไร” ท่านบอกว่า “ต้องสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ หน้าตักสิบสองนิ้ว” เราเลยบอกว่า “เรื่องเล็ก เอาสักสิบองค์ก็ยังได้” ท่านบอกว่า “องค์เดียวพอ”

แล้วพระอีกสององค์ท่านก็รับไปคนละองค์ รวมเป็นสามองค์ เราบอกว่า “อย่างนี้ ฮ้อ...ตกลง” ท่านก็เลยบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นไปได้ตามผลของความดี”

ตอนนั้นเลยบอกกับท่านทิมว่า “อย่าเพิ่งไป อยู่ที่นี่ก่อน” ถามลุงว่า “การสอบสวนขอพักเดี๋ยวได้ไหม” ท่านบอกว่า “ได้” เราก็เลยบอกท่านทิมว่า “จำอารมณ์หนึ่งได้ไหม” เขาถามว่า “อะไรล่ะ” ก็เลยบอกว่า “เอกัคคตารมณ์กับอุเบกขาน่ะ” บอกว่า “จำได้” “จำได้ก็ขอไปตามนั้น” นั่นมันฌานสี่ ท่านทิมเลยไปเป็นพรหมชั้นที่สิบเอ็ด ถ้าไปตอนนั้นก็ไปด๊อกแด๊กอยู่แค่กามาวจร ต้องช่วยกระตุกตรงนี้ มันพ้นตอนที่เรารับปากจะให้ อารมณ์ที่ปิดปากอยู่ก็หมด ลุงพุฒแกตั้งใจช่วยเลยให้คนมาตาม ไม่ได้ตั้งใจคอยใคร ขนาดมาตามเลยนะ ที่ตามก็มีพระอยู่สององค์ อีกองค์หนึ่งเป็นพระอยุธยา หนุ่มเลยละองค์นั้น ตอนนั้นฉันก็อายุสักสี่สิบกว่า ๆ องค์ที่อยู่อยุธยาก็อยู่ในเกณฑ์สามสิบเศษ ๆ แต่ไม่รู้ว่าวัดไหน รูปร่างสูง ๆ ดำ ๆ อีกองค์หนึ่งรูปร่างหน้าตาดี ไม่รู้อยู่วัดไหน เวลาไปตามก็มีสามองค์เลยเล่นกำไรเสียเลย พระพุทธรูปสิบสองนิ้ว กับคนที่จะไปพรหม ราคามันไม่เท่ากันใช่ไหม เราสร้างพระสิบสองนิ้วเดี๋ยวเดียว ไอ้คนที่บำเพ็ญบารมีเป็นพรหมมันง่ายเสียเมื่อไหร่ล่ะ

คราวนี้มันก็มีปัญหาอยู่ว่า ทำไมท่านจึงมาเจาะจงเอาฉันไปช่วย ถ้าลงได้เป็นแบบนี้ละก้อจะต้องเป็นเครือเดียวกัน เป็นพวกเดียวกัน เดินทางแนวเดียวกัน อาจารย์ทิมกับฉันรู้จักกันมานาน ตั้งแต่ตอนบวชอยู่ใหม่ ๆ ส่วนอีกสององค์ไม่รู้ว่าเขารู้จักกันมาเมื่อไหร่ แต่ทั้งสององค์นั่นบ้า ๆ บวม ๆ เหมือนกัน เงินส่วนตัวไม่มี ฉันถามอีกองค์หนึ่งที่รูปร่างหน้าตาดี ๆ บอกว่าอยู่สิงห์บุรี จากนั้นฉันก็ไม่ได้สนใจ ถามถึงปฏิปทาเขาก็บอกว่า ผมกับท่านบ้า ๆ บวม ๆ เหมือนกัน สตางค์ไม่เหลือ อาจารย์ทิมก็บ้าเหมือนกัน แต่ดันบ้าตายก่อน มันจะลงนรกเราให้ลงไม่ได้ ทีนี้วิธีกระตุ้นนิดเดียว ถ้าบอกว่าอาจารย์ทิมเริ่มนั่งเข้าฌานละก็ซวยเลย ใครจะไปเข้าฌานได้ยังไง เขาต้องถามถึงอารมณ์เดิมนิดเดียว ถามว่าจำอารมณ์หนึ่งได้ไหน เอกัคคตากับอุเบกขา

บอกจำได้เท่านี้ก็พอแล้ว จำได้เป็นฌานสี่ จิตก็ตั้งอยู่พอดี พอพูดปั๊บจิตก็ตั้งอยู่ฌานสี่ พอตั้งอยู่ฌานสี่ สภาพก็เป็นพรหม ตัวแกก็เป็นพรหม แจ๋ว เลยบอกไปตามอัธยาศัย ข้าจะกลับวัด เดี๋ยวลูกศิษย์ข้าคอย

ที่เล่าให้ฟังนี่ มันเป็นเรื่องของผู้ที่ไม่มีเจตนาโกงเงินสงฆ์ ไอ้พวกที่มีเจตนาโกงไม่มีทางช่วย เรี่ยไรมาสิบบาท เอาของเขาใช้ไปเก้าบาทเก้าสิบสตางค์ อีกสิบสตางค์ก็เอาเข้ากระเป๋า อย่างนี้ลงอเวจีมหานรก

ของสงฆ์นี่แม้แต่กระเบื้องแตก ๆ ก็เก็บไม่ได้ ของที่สงฆ์เขาไม่ใช้แล้ว เห็นว่ามันดีนี่ เอาไปบ้านหน่อย อย่างนี้ เอวัง ตกดังตูม.......อเวจี และก็มีอีกเรื่องหนึ่ง

ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระวิปัสสีทศพล สมัยพระวิปัสสีนั้น มีพระอยู่สี่องค์ เวลานั้นข้าวยากหมากแพง ฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวที่บ้านเขาอาจจะมีมาก แต่ว่าข้าวที่วัดมีน้อย พระพวกนั้นมีเพื่อนมาหา ข้าวที่จะกินเข้าไปมันไม่พอ ข้าวส่วนตัวไม่มีก็มีข้าวสารของสงฆ์ ไปนำข้าวสารของสงฆ์มา เมื่อได้ข้าวสารของสงฆ์มาคนละทะนานแล้ว ก็มาหุงเลี้ยงเพื่อน คิดในใจว่า ถ้าเราได้ข้าวสารมาใหม่ เราก็จะชำระหนี้สงฆ์ คือว่าเราจะใช้หนี้ให้ แต่ในเมื่อยังไม่ทันจะใช้หนี้ พระสี่องค์นั่นก็ตาย ตายทั้ง ๆ ที่ยังมีเจตนาว่าจะชำระหนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ชำระ ตายแล้วไปไหน ปรากฎว่าไปไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกสิ้นพันปีนรก เมื่อพ้นจากอเวจีมหานรกแล้วก็ตกนรกบริวาร ผ่านมาสี่ขุม แล้วก็ยมโลกียนรกอีกสิบขุม มาเป็นเปรต เปรตนี้จัดเป็นสิบสองระดับ ระดับที่หนึ่ง ถึงระดับที่ สิบเอ็ด ไม่มีโอกาสจะได้โมทนาบุญของชาวบ้านที่ทำให้ ระดับที่สิบสองที่เรียกว่าปรทัตตูปชีวิเปรต ตอนนั้นมีโอกาส ในระหว่างที่เป็นเปรตระดับที่หนึ่งถึงที่สิบเอ็ด ก็พบพระพุทธเจ้าหลายองค์ ถามท่านว่า เมื่อไรข้าพระพุทธเจ้าจะได้กินข้าวกินน้ำเสียที เห็นน้ำเข้าวิ่งไป น้ำก็หายกลายเป็นทะเลเพลิง เห็นข้าวอยากจะกิน วิ่งเข้าไปก็ปรากฎว่าเป็นทรายแล้วก็เป็นไฟลุก กินไม่ได้ พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ก็ทรงพยากรณ์ว่า เมื่อไรพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสมณโคดมอุบัติขึ้นในโลก ในตอนนี้แหละ ญาติของเจ้าชื่อว่าพระเจ้าพิมพิสารจะบำเพ็ญกุศล แล้วเธอหมดทุกคนได้รับโมทนาก็จะพ้นทุกขเวทนาเสียที เปรตทั้งหลายเหล่านั้นคอยกันมานาน จนกระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ พระเจ้าพิมพิสารถวายพระเวฬุวันมหาวิหาร แล้วก็ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมด เมื่อถวายทานแล้ว ก็ไม่ได้กรวดน้ำ ไม่ได้กรวดซีเพราะไม่รู้ ตอนนั้นมันเป็นการทำบุญ ครั้งแรกยังไม่รู้ว่าทำบุญแล้วกรวดน้ำกันได้ผล เปรตทุกคนที่คอยอยู่ก็นั่งตั้งท่าจะโมทนา เห็นพระเจ้าพิมพิสารก็ตกใจ แปลกใจว่าเสียงอะไรไม่ทราบ มาร้องกึกก้อง ในเมื่อพระเจ้าพิมพิสารตกใจ ในตอนเช้าก็ไปหาพระพุทธเจ้า ไปถามว่าเมื่อคืนนี้ไม่รู้เสียงอะไร มันร้องกรี๊ดกร๊าด ๆ ในพระราชฐาน ไม่เคยได้ยิน พระพุทธเจ้าก็เล่าความนั้นให้ทราบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เปรตเป็นญาติของพระองค์ ต้องการโมทนาบุญ เมื่อวานนี้พระองค์ทรงทำบุญแล้วไม่ได้กรวดน้ำอุทิศให้ คำว่าอุทิศแปลว่าเจาะจงนะ อุทิศนี่นะเขาแปลว่าเจาะจงให้เฉพาะ พระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมด ไปฉันอาหารในพระราชนิเวศน์ ตอนนี้เมื่อพระพุทธเจ้าฉันเสร็จ ก่อนจะโมทนา พระเจ้าพิมพิสารก็กรวดน้ำ ใช้คำว่า อิทังโนญาตีนังโหตุ แปลเป็นใจความว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า เท่านี้ละนะ การกรวดน้ำครั้งแรก เปรตทั้งหลายเหล่านั้นตั้งท่าคอยอยู่แล้ว ได้รับโมทนา เมื่อโมทนาแล้ว ร่างกายเป็นทิพย์หมดมีความอิ่มเอิบ มีความสวยสดงดงาม ร่างกายเทวดา แต่ว่าเป็นเทวดาชีเปลือยไม่มีเครื่องประดับ ไม่มีผ้านุ่ง เพราะอะไร เพราะว่าในสมัยก่อนที่จะตาย ไม่ได้เคยทำบุญถวายผ้าผ่อนท่อนสไบไว้ในพุทธศาสนา เมื่อร่างกายสวยแต่ไม่มีเครื่องประดับ ไม่มีเสื้อผ้า ไม่มีกางเกงนี่มันก็แย่เหมือนกัน ก็เดือดร้อน ตอนกลางคืนจึงเข้ามาหาพระเจ้าพิมพิสาร แสดงตัวให้ปรากฎ แต่ว่าตอนยืนน่ะสงสัยนะ ว่าจะยืนหันหลังให้ คงไม่ยืนหันหน้าหรอก คงจะอายเหมือนกัน พระเจ้าพิมพิสารแปลกใจว่า คนอะไรสวยก็สวย แต่แก้ผ้าไม่มีเสื้อไม่มีผ้า ตอนเช้าไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า พวกเปรตพวกนั้นแหละเป็นเทวดา แต่ไม่เคยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพุทธศาสนา เพราะอาศัยบารมีที่พระองค์ให้อาหารเป็นทาน เขาก็มีแต่ร่างกายสวยงาม ผ้าจึงไม่มี พระเจ้าพิมพิสารถามว่าทำไมเขาจึงจะได้ผ้า ท่านก็บอกว่าต้องถวายไตรจีวรแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้เขา จะได้เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ พระเจ้าพิมพิสารก็ทำอย่างนั้น แต่พอได้เครื่องประดับแล้ว เทวดาก็มาแสดงตัวให้ปรากฎ แล้วนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ก็เลยไม่รบกวนอีก นี่เล่าถึงเรื่องของสงฆ์ให้ฟังนะว่า มีเจตนาขอยืมยังมีโทษขนาดนี้ แต่ถ้าหากว่าเราไปเอามาโดยไม่ขอยืม มันจะมีโทษขนาดไหน

และอีกเรื่องหนึ่ง กากะเปรต สมัยที่เกิดเป็นกา แย่งข้าวในขันที่เขาจะนำไปถวายพระ ข้าวสุกนั้นเขานำไปยังไม่ถึงพระ ยังไม่ใช่ของสงฆ์ จะถือว่าเป็นของชาวบ้านก็ไม่ได้ เพราะเขาตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว กรรมเล็กน้อยเพียงเท่านี้ ตายแล้วไปลงอเวจี แล้วแถมเกิดมาเป็นเปรต

ผู้ถาม “หลวงพ่อครับ คนที่กินข้าวที่พระอนุญาตแล้ว ทำไมถึงตกนรก และพระที่ให้ก็ต้องตกนรกด้วยครับ”

หลวงพ่อ “ถ้าอาหารที่พระให้ ต้องเป็นของที่ญาติโยมถวายเฉพาะองค์นั้น ไม่มีโทษแน่ แต่ที่เป็นอย่างนี้ต้องเป็นอาหารที่เขาถวายเป็นส่วนกลาง คือเป็นของสงฆ์ ของสงฆ์นั้น พระองค์ใดองค์หนึ่งไม่มีสิทธิ์ให้ นอกจากสงฆ์จะประชุมตกลงให้พระองค์นั้นเป็นผู้จ่ายแทนสงฆ์ ตัวอย่างของสงฆ์ เช่น อาหารวันพระที่มีข้าวใส่บาตรเหลือมาก ๆ แล้วทายกใส่ถ้วยเอาไปบ้าน โดยที่คณะสงฆ์ไม่มีส่วนรู้เห็น อย่างนี้แม้แต่เจ้าอาวาสเองยังไม่มีสิทธิ์ให้ตามลำพัง

บางทีกินอาหารที่พระฉันเหลือ ถ้าพระอนุญาตแล้วไม่มีโทษ (สำหรับญาติโยมที่ไปในงาน ทางวัดเขาตั้งใจเลี้ยงก็ไม่เป็นไร แต่บางท่านก็หยิบของที่พระฉันแล้วเอามาเฉย ๆ บางท่านก็ขอเอาดื้อ ๆ ให้หรือไม่ให้ก็ตาม ออกปากขอแล้วยกไปเลย พระยังไม่ทันอนุญาต ท่านทายกประเภทนี้ ท่านช่วยยกคนที่กินกับท่านลงอเวจีแบบสะดวก เมื่อจะขอต้องดูว่าอาหารมากไหม ถ้ามากจนเหลือเฟือ ก็ขอให้พระท่านให้ตามความพอใจของท่าน เพราะท่านอาจจะมีกังวลนำอาหารไปให้ใครก็ได้ที่ท่านมีภาระต้องเลี้ยง ถ้าถือเอาตามความพอใจก็ต้องถือว่าแย่งอาหารจากพระ มีโทษ 100 เปอร์เซนต์

และอาหารถวายพระพุทธรูปก็เหมือนกัน อาหารประเภทนี้ดูเหมือนจะเป็นเหยื่อล่อให้ทายกลงอเวจีสะดวกสบายมาก อาหารที่เขานำมาวัด เขาตั้งใจถวายพระสงฆ์ การนำไปถวายพระพุทธรูปนั้นเป็นความดี เพราะเป็นพุทธานุสสติด้วย เป็นพุทธบูชาด้วย แต่อาหารประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้มาก เพราะพระพุทธรูปไม่ได้ฉัน ท่านจะฉันหรือไม่ฉันก็ตาม อาตมาคิดว่าทายกทายิกาไม่มีสิทธิ์จะกิน หลายวัดหรือส่วนใหญ่ทายกมักจะเอาอาหารดี ๆ และมาก ๆ ไปทุ่มเทถวายพระพุทธรูป

เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว ต่างก็ยกเอามากิน ตอนนี้ไม่ถูกด้วยประการทั้งปวง ต้องเอาไว้ถวายพระตอนเพลจึงจะถูก ทายกทายิกาจะกินได้เฉพาะอาหารที่เหลือเป็นเดนจากพระฉันเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์สถาปนาตนเองเป็น “ลูกศิษย์พระพุทธรูป” แต่ประการใด

รวมความว่า ของที่ถือว่าเป็นของสงฆ์นั้น คือของในวัดทุกประเภทที่เขาถวายเป็นของสงฆ์แล้ว แม้แต่ดอกไม้ผลไม้ในวัด เศษไม้ที่คิดว่าทำอะไรไม่ได้แล้ว เอามาทำฟืนบ้าง ทำอย่างอื่นเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง จงอย่าคิดว่าไม่บาป แม้แต่เศษกระเบื้องที่ทิ้งแล้ว ก็เป็นของสงฆ์ มีผลเสมอกัน เว้นไว้แต่ดอกไม้ผลไม้ที่พระหรือท่านผู้ใดปลูกในวัด ถ้าท่านเจ้าของยังอยู่ในเขตวัดนั้นและท่านอนุญาต อย่างนี้เอามาได้ไม่บาป ด้วยท่านเจ้าของมีสิทธิ์สมบูรณ์ให้ได้รับมาได้ไม่มีโทษ ถ้าท่านผู้ปลูกออกไปจากวัดนั้นหรือตายไปแล้ว ของนั้นเป็นของสงฆ์โดยตรง ไปเอามามีโทษตามกำลังบาป ขโมยของสงฆ์

ผู้ถาม “แล้วเรื่องพระชำระหนี้สงฆ์มีความเป็นมาอย่างไรครับ”

หลวงพ่อ “เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ฉันไปที่ศรีราชา ญาติโยมเขาถามเรื่องชำระหนี้สงฆ์ ถ้าหลาย ๆ ชาติมาเราไม่รู้อะไรมาบ้าง ถามว่าจะทำอย่างไร ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน พอตอบไม่รู้ ก็เห็นพระท่านลอยมา ท่านบอก “ถ้าจะชำระให้ครบถ้วน เป็นเงินเท่าไรก็ไม่พอ ให้สร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 4 ศอก”

พระหน้าตัก 4 ศอก ถือ่วาเป็นพระประธานมาตรฐาน ท่านบอกว่า “พระพุทธรูปนี่ไม่มีใครตีราคาได้ ใช้ในการชำระหนี้สงฆ์ หนี้สงฆ์ที่แล้ว ๆ มาถือเป็นการหมดไป”

ฉันพูดแล้วก็กลับมาวัด ต่อมาพวกนั้นก็ถามใหม่ว่า “สร้างพระองค์เดียวได้คนเดียวหรือกี่คน” ฉันก็ไม่รู้อีกซิ ก็นึกถึงท่าน ท่านก็มาใหม่ ท่านก็บอกว่า

“ถ้าไม่ปิดทองได้คนเดียว ถ้าปิดทองครบถ้วนได้ทั้งคณะ” คำว่า “คณะ” หมายความว่าบุคคลหลายคนก็ได้ ตัดบาปเก่า ถ้าสร้างใหม่เอาอีกนะ สร้างนี้ใหม่ต่อเป็นหนี้ใหม่เหมือนกันนะ

ผู้ถาม “ถ้าหากว่าเรามีสตางค์น้อย แล้วถวายพระจะได้ไหมครับ”

หลวงพ่อ “ถ้าเรามีสตางค์น้อย ๆ ก็ใส่ซองเขียนหน้าซองว่า “ชำระหนี้สงฆ์” คือว่า ไม่ได้จำกัด ทำไปเรื่อย ๆ ให้สบายใจ บาทสองบาทตามกำลังที่จะพึงทำได้ เขาไม่ได้เกณฑ์ว่าจะสร้างพระ หลวงพ่อปานท่านทำอย่างนี้มาก่อน เรื่องสร้างพระนี่เขาถามก็บอก ท่านมาบอกอัตรานี้โละกันเลยนะ คือไม่ใช่จะเกณฑ์ให้สร้างพระ เพราะทุนไม่พอใช่ไหม เราก็ทำไปเรื่อย ใจสบาย

มีสตางค์รับเงินเดือนมาทีทำ 5 บาท ใส่ซองถวายพระ บอกขอชำระหนี้สงฆ์ ท่านไม่รู้ท่านใช้ผิด ท่านลงนรกเองไม่ต้องห่วง ถ้าไปกินเป็นส่วนตัวละเรียบร้อย เงินชำระหนี้สงฆ์มันมีค่ากว่าเงินสังฆทานและวิหารทาน ถ้าไปใช้เป็นส่วนตัวไม่ได้ ต้องใช้
เป็นส่วนกลาง อันตรายกับพระ แต่ช่างท่านเถอะ ถ้าบวชแล้วอยากโง่ให้ลงนรกไป ใช่ไหม”

ผู้ถาม “ถ้ามีญาติโยมเอาเงินไปถวายพระ แต่พระก็เอาเงินไปปลูกบ้านบ้าง ให้ญาติโยมไปออกดอกออกช่อบ้าง อยากทราบว่าผลบุญที่ลูกได้ทำแล้ว จะมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบหรือไม่เจ้าคะ”

หลวงพ่อ “เขาถวายเป็นของสงฆ์ใช่ไหม เขาถวายเข้าไปในวัดใช่ไหม แล้ววัดไม่ได้ทำอะไร แต่คนในวัดเอาไปปลูกบ้าน เงินนั้นไปที่อื่นใช่ไหม เขาถวายอานิสงส์ มันได้ตั้งแต่ถวาย มีอานิสงส์ครบถ้วน นั่นเขาครบ 100 เปอร์เซนต์เลยนะ คนอื่นเอาไปใช่ไหม อย่าไปยุ่งกับเขาเลยนะ อานิสงส์ได้ตั้งแต่เริ่มให้ ยิ่งให้ก็ยิ่งอานิสงส์หนักขึ้น เวลาให้ต้องให้ด้วยตนเองใช่ไหม ขณะที่พระรับก็เกิดธรรมปีติอิ่มใจ อานิสงส์มันเพิ่ม แต่ว่าคนที่นำเอาไปใช้พิเศษคนนั้นลงอเวจีแน่”


(คัดมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับพิเศษ และหนังสือสมบัติพ่อให้ ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี)

(รวมคำสอบพระสุปฏิปันโน เล่ม 2)


ขอขอบคุณที่มา:เว็บพลังจิต

เรื่องพระพุทธชินราช(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)



เรื่องพระพุทธชินราช

จาก หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๔




ตามที่หลวงพ่อท่านได้สร้าง "พระพุทธชินราช" ประดิษฐานเป็นพระประธานไว้ที่วิหาร 100 เมตร เพื่อไว้สักการะบูชาของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธรูปองค์นี้สร้างได้สวยสดงดงามมาก นอกจากญาติโยมทั้งหลายจะได้อานิสงส์ในการร่วมสร้างกันแล้ว หลวงพ่อท่านได้บอกว่า พระพุทธชินาชองค์นี้ ถ้าเกิดฝนแล้งจะอธิษฐานขอฝนก็ได้

ในโอกาสนี้จึงขอนำเรื่องราวของพระพุทธชินราช ที่หลวงพ่อเคยประสบเหตุการณ์มาแล้ว มาเล่าสู่กันฟัง...

เนื่องจากมีผู้หญิงคนหนึ่งนำพระพุทธชินราชมาให้หลวงพ่อปลุกเสก เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว บอกว่า "เอาพระพุทธชินรารมาให้เสก ไม่รู้ฉันจะเสกบทไหน...กลัวท่านจะเสกหัวฉันเข้าน่ะซิ" พอยกมือขึ้นอาราธนาบารมีท่าน...ท่านบอก "มันก็ยี่ห้อเดียวกับแก แกก็ติดชินราช"

ถูกของท่าน ที่ว่าถูกของท่านคือว่า พระพุทธรูปที่นำมาถวาย ถ้าหากว่ามันไม่เกินวิสัยจริงๆ ฉันต้องทำเรือนแก้วให้ได้ เพราะว่าฉันชอบชินราช เพราะอะไร... "ชินราข" เขาแปลว่า "ชนะ"

เหตุเกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เรื่องพระพุทธชินราช เริ่มต้นมันมีอยู่คราวหนึ่ง คือว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่คิดว่าจะสร้างพระพุทธชินราช คืนหนึ่งก็เข้านอน ตอนหนุ่มๆนะ เป็นพระ ตื่นขึ้นมาตีสอง ตะเกียงมันก็ไม่ได้จุด มันมืดตื้อ เห็นขาวๆหน้าประตูด้านใน เหนือประตูขึ้นไป

ถามว่า "ใคร?" บอกว่า "ฉัน...พระพุทธชินราช"

ถามว่า "มายังไงครับ?" บอกว่า "จะมาอยู่ด้วย"

เราก็นึก เอ....ท่านจะอยู่ยังไง...พอคิดว่าท่านจะอยู่ยังไง...แล้วท่านก็หายไป แต่จิตเรารักพระพุทธชินราชอยู่ตลอดเวลาเพราะท่านสวย ดูแล้วดูไม่อิ่ม

แล้วก็ปีนั้นต่อมาอีก ๒ เดือน ฉันก็ไปอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วก็จะไปเข้าที่อำเภออู่ทอง ตอนนั้นป่ามันมีเยอะ เราก็จะไปซื้อไม้ที่มันถูกต้องตามกฏหมาย คือว่าต้นไม้ออกจากโรงเรื่อยนี่มันถูก คือออกจากที่นี่มันถูก พอไปก็เอาเรือไปจอดที่ตลาดบางลี่ ก็มีเรือเรี่ยไรอยู่ลำ เขาจอดอยู่ทางด้านโน้น

พอเรือเราไปจอด ปรากฏว่าพวกผู้หญิง จีนบ้าง ไทยบ้าง แบกโตก แบกขันแตก แบกเครื่องทองเหลือง ลงไปเป็นแถวสัก 20 ราย ขนาดแบกไปเลยนะ

ไปถึงแวะไปทางเรือก็ถาม "ทำไมโยม...?"

บอก "เอาเครื่องทองเหลือง ทองขาวทำบุญ"

"อ้าว...ก็ลำโน้นเขาโฆษณาจะสร้างรอยพระพุทธบาท"
ไอ้เราเครื่องขยายเสียงก็ไม่มี จะไปซื้อไม้ เครื่องขยายเสียงจะมีได้ยังไงเล่า เขาถามว่า "จะสร้างอะไร?" บอก "ไม่ได้สร้างล่ะ จะมาซื้อไม้"

คนอื่นเขาก็กลับไปหมด ก็เหลือผู้หญิงจีนอยู่คนหนึ่ง แกไม่ยอมไป แกก็พูดอยู่อย่างนั้นแหละ ถาม"ไม่สร้างอะไรรึ?"

พูดไป พูดมา พูดมาพูดไป ก็นึกขึ้นมาได้ว่า เราคิด ว่าจะสร้างพระพุทธชินราช แต่ว่ากำหนดไว้อีก ๓ ปีจึงจะสร้าง ไม่ได้สร้างปีนั้นเพราะเห็นว่าท่านมาคงจะเป็นสัญญลักษณ์ แกถามขึ้นมาก็เลยนึกขึ้นมาได้"ฉันจะสร้างเหมือนกันแหละโยม...แต่อีก ๓ ปี"

แกบอก "เอางี้ก็แล้วกัน ๓ ปี ฉันจะฝากไปด้วย"

ได้เรื่องเลย...ขันลงหินแกสวยมาก เราเห็นยังนึกเสียดายของเก่า แต่ว่าของเก่าหรือไม่เก่าเราเสียดายไม่ได้ เวลาสร้างต้องทุบกันแน่ ฝากไปด้วย ๓ ปี ก็ไม่เป็นไร เลยบอกว่า

"เอางี้ดีกว่าโยม เวลาที่ฉันจะสร้าง ฉันจะมาใหม่"

แกบอก "ไม่ได้หรอก ดีไม่ดีฉันจะตายเสียก่อน"

แกก็ให้สตางค์ ๑๐ บาทเป็นค่าแรงงาน ให้ค่าบำเหน็จแล้วแกก็เดินกลับบ้านไป แกกลับขึ้นไปมือเปล่านี่ พวกนั้นก็ถามว่า

"ขันแกไปไหนล่ะ?"

"ลำนั้นเขาสร้างเหมือนกันนะ แต่สร้างพระพุทธชินราช"

แกพูดเท่านั้นแหละ ยายพวกนั้นแบกลงมาอีกแล้ว

"ท่านทำไมโกหกฉันล่ะ?"

แล้วกัน แหม..ซวยเลย เราเสียยี่ห้อ บอก "ทำไมเล่า?"

"ก็ท่านจะสร้างพระพุทธชินราช ทำไมท่านไม่รับของล่ะ" ก็บอกว่า "อีก ๓ ปีนะโยม"

"อ้าว...ถ้ายังงั้นฉันก็ฝากบ้างสิ" แกก็เลยฝากไว้

ปรากฏว่า แกถือของลงมา ต่างคนต่างฝาก ก็ไม่ต้องนอนกันละ ปรากฏว่าเรือไม่มีที่นอน ทำยังไงล่ะ...มันชักจะยุ่งเสียแล้ว ก็คิดว่าเรื่องมันใหญ่ไปมากแล้ว เลยต้องตกบันไดพลอยโจน เช้าต้องจอดอยู่อีก เช่าเรือต่อเขาอีกลำ ของมันอยู่ในเรือยนต์เต็ม ก็เช่าเรือเขา เขาถามว่า "เช่าทำไม?" บอก "ใส่ของ"

เจ้าของเรือเขาก็ดี บอกว่า

"ไม่ต้องเช่า..วัดนี้ ถ้าวัดอื่นอาจจะต้องเช่า"

"เสียเวลานะโยม หลายวันนะ"

"เสียเวลาก็ไม่เป็นไร เรือไม่ได้ใช้"

เขาก็มาคุมเรือให้เอง เอาของใส่จอดอยู่ที่นั่น รุ่งขึ้นมึงมา กูมา ผลที่สุดเห็นท่ามันจะเต็มลำอยู่แล้ว ทองเหลืองทองขาวนะ ก็จะลากลับ กลับไม่ได้อีกแล้ว เรือวิ่งมาจะออกปากคลอง มึงเรียก กูเรียก ร้องไห้จะตาย ไม่มีที่ใส่ ก็นึกว่า เออ..ตกลงไม้เม้ย..ไม่ต้องหากันละ ไอ้เราอุตส่าห์ไม่เรี่ยไร วิ่งไปเรียบๆ มึงกวักกูกวัก กวักผ้าก็ต้องแวะ ต้องกลับมานอนที่เดิมใหม่ ผลที่สุดก็เลยขึ้นไปที่เทศบาล ถามว่า "มีเครื่องขยายเสียงไหม..ขอเช่า"

ปลัดเทศบาลก็แปลกเหมือนกัน บอกว่า "ถ้าวัดอื่นต้องเช่า แต่วัดนี้ไม่ต้องเช่า ผมให้พนักงานไปเสร็จ"

"เออ...ก็ดีเหมือนกัน มีคนร่วมมมือได้ด้วยดี...เสร็จ"

เป็นอันว่ากว่าจะถึงวัด ทองเหลืองทองขาวเต็มทั้งเรือต่อเรือยนต์ สมัยนั้นเงินมันยังแพงอยู่นะ ยังได้เงินมาอีก ๒ หมื่นบาท มันเป็นการบังคับว่าต้องทำแหงๆ ไม่ทำไม่ได้ ใช่ไหม..

ฝนตกตั้งแต่เริ่มสร้าง
เมื่อมาหาช่างก็รู้สึกว่ามันพอไปหมด เขาเรียกว่า "พอหมด" ทองก็พอ เงินก็พอ ไปถามเขาว่าจะเอาเท่าไร...ก็พออีก ยังขาดเงินอีกอย่างเดียว คือการจัดงาน อันนี้ไม่ใช่ของแปลก เป็นอันว่าของท่านครบเสร็จ เวลาจัดงานก็มาตกลงกับช่าง ช่างบอกว่า

"พอเริ่มปั้นหุ่น ฝนตกหนัก ปั้นหุ่นเสร็จ เอาสีผึ้งใส่ ฝนตกอีก เอาดินทรายทับ ฝนตกอีก"

เขาลากหุ่นไปจากกรุงเทพฯ ไปที่วัดบางนมโค พอไปถึง ฝนตกใหญ่ ทีนี้ก็มาถึงวันหล่อ ตามธรรมดาวันหล่อพระ ฝนต้องตกปรอยๆ ตกหยิมๆ จึงจะดี ใช่ไหม...วันนั้นไม่หยิมละ ล่อเม็ดโป้งๆเลย พอเทเสร็จฝนก็ลงจั้กๆ น้ำนอง พอเลิกแล้วหุ่นเย็นก็ให้ช่างทุบ ช่างไม่ยอมทุบหุ่น บอกว่า

"ลักษณะอย่างนี้ พระเสียหมด หมายความว่าจะยกหุ่นมากรุงเทพฯเลย แล้วก็มาแต่ง ถ้าเสียหายก็ต้องทำกันใหม่เลย"

ก็เลยบอกว่า "ไม่ได้หรอก งานมันยังมีอยู่ พิธีกรรมฉันเป็นคนทำนะ พิธีกรรมเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากว่าผลเสียหายเกิดขึ้น ก็แสดงว่าคนที่ทำพิธีกรรมน่ะทำไม่ถูก"

ช่างแกเกิดไม่ยอมทุบ ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน ผลที่สุดก็ตัดสินใจ เสียเป็นเสีย ลักษณะฝนตกแบบนี้เขาต้องเสีย พอทุบหุ่นออกมาแล้ว เรียบร้อยเกือบไม่ต้องแต่ง อีตาช่างน้ำตาไหล บอกว่า "ผมไม่เคยเจอะเลย"เพราะยังไงๆก็ต้องมาแต่งที่กรุงเทพฯให้เรียบร้อย เอาตะไบขัดให้ดี ใช่ไหม...แล้วก็ปิดทองเสร็จ เขาก็เอาไป

พอดีฝนมันแล้งจัด ชาวบ้านเขาจะไปเล่นนางแมวนางหมาอะไรนั่นแหละนะ แบบสมัยเก่า ฉันก็ไปยืนที่หน้าต่าง ถามเขาว่า "ทำไมเล่า?" บอก "จะไปเล่นขอฝน"

บอกว่า "กลับไปเถอะ พรุ่งนี้เขาจะเอาพระพุทธชินราชมาจากกรุงเทพฯ ฝนจะตกตลอดตามที่ต้องการ" ไอ้เราก็โม้ไปอย่างงั้นละ โม้ส่งเดช เจ้าพวกนั้นทำยังไง...วันรุ่งขึ้นมันก็มากันเต็มวัดเลย ไม่ใช่ตำบลเดียว ๒-๓ ตำบล ฝนมันไม่ตกนี่ แกก็มานั่งคอยพระพุทธชินราช ฝนจะตกไหม...

ไอ้ เราก็ชักใจเสีย จะไปไหนก็ไปไม่ได้ ถ้าฝนไม่ตกมันคงทุบเราแน่ ก็เป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ บังเอิญก็ได้ พุทธานุภาพก็ได้ พอเรือที่บรรทุกพระพุทธชินราชไปถึง พอจอดเทียบท่าวัดฝนตก ๒ ชั่วโมงเต็ม ตกขนาดไม่ลืมหูลืมตา ล่อเต็มที่จั้กๆตั้งเวลาได้ ๒ ชั่วโมง

ก็เป็นอันว่าการแบกพระขึ้นเป็นของไม่ยาก เขาดีใจกันใหญ่ ช่วยแบกพระบ้าง ช่วยแบกคนบ้าง มันล่อกันเต็มที่เลย พอขึ้นมาเสร็จ เขาก็ตั้งกฏเลย แกเลยบังคับต้องทำบุญ ๓ วัน พวกนั้นเขาทำเอง ก็เลยบอกว่า

"แกจะทำสักกี่ร้อยวันก็เชิญ ฉันอยู่วัดไม่ต้องบิณฑบาต"

เขาก็ขนกันทำบุญ พอทำบุญเสร็จ เขาเวียนเทียนเสร็จก็เข้าที่ ทีหลังก็ขอท่านตอนเย็น ขอให้ฝนตกพอดีๆเท่าที่ข้าวเขาต้องการ ตกตลอดทุกวัน

อธิษฐานขอฝนตกที่อื่นก็ได้
ตอนนั้นมีเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งก็ไปสร้างโบสถ์ที่ จ. ราชบุรี เขาให้ไปสร้างโบสถ์ แต่มันเป็นที่แนวลึกเข้าไปที่ใกล้ๆแม่น้ำ บางที่เราไปง่าย เขาไม่ให้สร้างหรอก ไอ้ที่ชาวบ้านทำไม่ถึงละเราไป

ก่อน จะไปก็อาราธนาท่าน ขอบารมีท่าน ไม่ได้แบกท่านไปด้วยหรอกนะ ถ้าเรือบ่ายหน้าเข้าคลองเล็กละก้อ...พอไปถึงที่เรียบร้อย ขอให้ฝนตกใหญ่ ๒ ชั่วโมง แล้วก็ไป ก็น่าแปลกเรือเราไม่ได้บรรทุกท่านไป แต่เรานึกถึงท่าน ขณะที่เรือวิ่งไปเดือนเมษายนไม่มีแสงแดดเลย ไอ้เมฆนี่ที่จะบังทับไปอยู่ตลอดเวลา แปลกดีเหมือนกัน

เมื่อไปถึง พอเรือเบนเข้าคลองเล็กปรากฏว่าฝนตกพรำๆไปถึงที่พอนั่งเรียบร้อยแล้วฝนตกลงมา 2 ชั่วโมง มีโยมคนหนึ่งมาบอก

"ท่าน..ดินสูงมาก ได้อีกสักชั่วโมงก็ดี" เอางั้นอีก ไอ้เราก็ปากหมา บอก "เอาตีสองนะโยม...เอาอีก ๒ ชั่วโมง"

เราก็นึกว่าตีสองใครจะไปนั่งอยู่มันกลับไปหมด ตกก็ตกไม่ตกก็ช่าง มันต้องกลับไปหมด ใช่ไหม...ที่ไหนได้ คนที่มามันไม่ยอมกลับ มันคอยดูตีสองอีก ซวยละเรา...เอายังไงกันแน่นะ มันก็นั่งดูนาฬิกา ถาม "อยู่ทำไม?"

"ก็ท่านบอกตีสองฝนจะตก"

เราก็เลยบอกว่า "ฉันพูดไปยังงั้นแหละ ด้วยพุทธานุภาพ ท่านจะให้หรือไม่ให้ ฉันบังคับไม่ได้นะ"

เขาก็บอก "ไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวขอดูใหม่"

ดาวที่เต็มฟ้าไม่มีมัวสักนิดเดียว เห็นดาวสบาย เค้าก็ไม่มี พอนาฬิกาตีเป๋ง...ลงพั๊วทันที ล่ออีก ๒ ชั่วโมง

แต่ก็แปลก พอฉันจำจะต้องย้ายวัด เพราะครบ ๒๐ พรรษาตามที่หลวงพ่อปานท่านสั่ง ก็เอามาไม่ได้เพราะว่าเป็นของสงฆ์ พอออกมาไม่ได้ พออยู่ข้างหลังใครไปขอเท่าไรฝนก็ไม่ตกเป็นไง...?

ถามท่านว่า "ทำไมจึงเป็นยังงั้น?"

บอก "ไม่มีใครเขารู้จักฉันนี่ แม้แต่ไหว้ยังไหว้ไม่ถูกเลย" นี่เรื่องของพระพุทธชินราช ท่านให้ผลดีจริงๆ



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติการสร้างพระพุทธ 25 ศตวรรษ




พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ

เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม
(พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้
• คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
• นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ
คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ
แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล
คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้
1.คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ

ก. พระเนื้อชิน อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย
ข.พระผง (ดิน) ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง

ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด
2. จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้
ก. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์
ข. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์
รวมทั้ง 2 ชนิด เป็นพระ 4,842,500 องค์
ค. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่
พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซ.ม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้
ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง
3. จัดการสร้างพระเครื่องทองคำ แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง
โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจาก
ผู้สั่งจอง องค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป

4. คณะกรรมการหาทุนและรับสั่งของสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑลอันมีพระยาสามราชภักดี
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการดำเนินงานอยู่นั้น ได้แจ้งความจำนงมายังคณะกรรมการนี่ว่า
เดิมที่ได้มีมติดังต่อไปนี้

ก. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล 10,000 บาทจะได้พระทองคำหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
ข. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุน 1,000 บาท จะได้พระเงินหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
การสร้างพระสมนาคุณนี้คณะกรรมการจะต้องสร้างเพื่อมอบเป็นของสมนาคุณมีจำนวนดังนี้
ก. พระทองคำ 15 องค์
ข. พระนาก 30 องค์
ค. พระเงิน 300 องค์
เงินค่าสร้างพระทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นเงินทุนจากที่ได้รับไว้แล้วและจะดำเนินการสร้างให้เสร็จในคราวเดียว
กับที่ได้สร้างพระเครื่องชินและผง (ดิน) ดังกล่าวแล้วด้วย
เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ
จุดตำหนิ ด้านหน้า
• ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
• ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่
จุดตำหนิ ด้านหลัง
• ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
• ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
มีตัวมะ เส้นแตก

เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงิน
จุดตำหนิ ด้านหน้า
• ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
• ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่ จุดตำหนิ ด้านหลัง
• ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
• ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
มีตัวมะ เส้นแตก

5. การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้
1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง***บ จ.พระนคร
23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
107. พระครู*** วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 
ขอขอบคุณที่มาเว็บ G-pra 

จุดตำหนิเหรียญ พระ 25 ศตวรรษ

การดูเหรียญพระพุทธ 25 ศตวรรษ พิมม์นิยม แบบมีเข็ม

จุดสังเกตุด้านหน้าแบบพิมม์มีเข็ม ต้องมีจุดชัดๆทั้งสองจุด
จุดตายอีกจุดที่ลืมดูไม่ได้
เข็มแบบชัดๆ
มีรอยเป็นสองชั้นตลอดรัศมีเหนือเกศ